วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

เนื้อหา

โลก



สมมติฐานกำเนิดโลกมีอยู่มากมาย แต่สามารถจัดได้เป็น 2 กลุ่มคือ
1. สมมติฐานเนบูลาร์ (Nebular Hypothesis)
      เชื่อว่าหลายพันล้านปีที่ผ่านมาได้มีกลุ่มก๊าซ และสสารจำนวนมาก หมุนรอบดวงอาทิตย์ ที่เกิดขึ้นใหม ่ต่อมาในราว 4,600 ล้าน ปี กลุ่มก๊าซ และสสารดังกล่าวได้รวมตัวกันเกิดเป็นโลก และดาวเคราะห์ต่าง ๆ ที่เป้นบริวารของดวงอาทิตย์ โดยเริ่มจากกลุ่มก๊าซ และสสารได้รวมตัวกันมีขนาดเล็กลง และร้อนยิ่งขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นดวงไฟ ต่อมาเย็นตัวลงเกิดการแข็งตัว ในส่วนที่เป็นเปลือกโลกหุ้มส่วนที่เป็นของเหลวไว้ภายใน และมีกลุ่มก๊าซและสสารที่มีความหนาแน่นต่ำ เกิดเป็น บรรยากาศห่อหุ้มอยู่รอบโลกขึ้นก่อน ภายหลังได้เกิดกระบวนการภูเขาไฟ ขึ้นอย่างมากมาย หลังจากนั้นเมื่อโลก เย็นตัวลงมากเข้า ส่วนที่เป็นก๊าซและน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆ และกลั่นเป็นฝนตกลงมา ก่อให้เกิดเป็นทะเลและมหาสมุทร พร้อมกับเกิดกระบวนการต่างๆ เช่น การเกิดภูเขาไฟ การเกิดแผ่นดินไหว การเกิดเทือกเขา การผุพังอยู่กับที่
การกร่อน เป็นต้น รวมถึงการเกิดและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

        
กำเนิดโลกจากกลุ่มก๊าซรวมตัวกัน
2. สมมติฐานพลาเนตติซิมัล (Planetesima; Hypothesis)
      ได้ อธิบายว่าโลกและดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ เคยเป็นหนึ่งของดวงอาทิตย์มาก่อน ภายหลังได้หลุดออกมา เป็นดาวเคราะห์ต่าง ๆ โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์เนื่องจาก แรงดึงดูดของดาวดวงหนึ่งที่โคจรผ่านเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์นั้น 




         โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรซึ่งใช้เวลา 365.25 วัน  เพื่อให้ครบ 1 รอบ ปฏิทินแต่ละปีมี 365 วัน ซึ่งหมายความว่าจะมี 1/4 ของวันที่เหลือในแต่ละปี ซึ่งทุกๆปีสี่ปีจะมีวันพิเศษ คือจะมี 366 วัน กล่าวคือเดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันเหมือนปกติ ตามที่เคปเลอร์ค้นพบวงโคจรของโลกไม่เป็นวงกลม ในเดือนธันวาคมมันจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าเดือนมิถุนายน ซึ่งมันจะอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด โลกจะเอียงไปตามเส้นแกน ในเดือนมิถุนายน ซีกโลกเหนือจะเอียงไปทางดวงอาทิตย์ดังนั้น ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูร้อนและซีกโลกใต้จะเป็นฤดูหนาว ในเดือนธันวาคมจะเอียงจากดวงอาทิตย์ ทำให้ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวและซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน ในเดือนมีนาคมและกันยายน ซีกโลกทั้งสองไม่เอียงไปยังดวงอาทิตย์ กลางวันและกลางคืนจึงมีความยาวเท่ากัน ในเดือนมีนาคม ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกใต้เป็นฤดูใบไม้ร่วง ในเดือนกันยายน สถานการณ์จะกลับกัน
             

  โลกมีอายุประมาณ 4,700 ปี   โลกไม่ได้มีรูปร่างกลมโดยสิ้นเชิง เส้นรอบวงที่เส้นศูนย์สูตรยาว 40,077 กิโลเมตร (24,903 ไมล์)และที่ขั่วโลกยาว 40,009 กิโลเมตร (24,861 ไมล์) 
  
              ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ จะมีฤดูกาลเป็นของตนเองและระยะของการโคจร ความยาวของปีดาวเคราะห์เป็นเวลาที่มันหมุนรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบ ถ้าคุณอยู่บนดาวพุธ ปีของคุณจะมีเพียง 88 วันของโลก บนดาวพูลโต ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่นอกสุดหนึ่งปีจะเท่ากับ 248 วันบนโลก
ดวงจันทร์               ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลก โคจรรอบโลกทุกๆ 27 วัน 8 ชั่งโมง และขณะเดียวกันก็หมุนรอบแกนตัวเองได้ครบหนึ่งรอบพอดีด้วย ทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์ด้านเดียว ไม่ว่าจะมองจากส่วนไหนของโลก ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง มนุษย์เพิ่งจะได้เห็นภาพ เมื่อสามารถส่งยานอวกาศไปในอวกาศได้ บนพื้นผิวดวงจันทร์ร้อนมากในบริเวณที่ถูกแสงอาทิตย์ และเย็นจัดในวริเวณเงามืด ที่พื้นผิวของดวงจันทร์มีปล่องหลุมมากมาย เป็นหมื่นๆหลุม ตั้งแต่หลุมเล็กไปจนถึงหลุมใหญ่มีภูเขาไฟและทะเลทรายแห้งแล้ง
               ดวงจันทร์เป็นดวงดาวใหญ่ที่สุด  และสว่างที่สุดในท้องฟ้ากลางคืน  ดวงจันทร์ส่องแสง  แต่แสงที่ส่องนั้นมิได้เปล่งออกมาจากดวงจันทร์เอง  ดวงจันทร์เมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ก็จะสะท้อนแสงนั้นออกมา  ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุด  แต่ก็ยังเป็นระยะทางไกลมากคือ  ระยะสิบเท่าของเส้นรอบโลกยังสั้นกว่าระยะทางจากโลกไปดวงจันทร์

วัฏจักรของดวงจันทร์                เราทราบแล้วว่า ถ้านับเดือนทางจันทรคติ แล้วดวงจันทร์จะโคจรรอบโลกหนึ่งรอบ กินเวลา 29 1/2 วัน ถ้าเรานับจุดเริ่มต้นของดวงจันทร์ที่วันเดือนดับ (New moon) เป็นช่วงที่ดวงจันทร์ อยู่เป็นเส้นตรงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้ดวงจันทร์ทึบแสง คนบนโลกจึงมองไม่เห็นดวงจันทร์ แล้วก็เป็นวันข้างขึ้นทีละน้อย เราจะเห็นดวงจันทร์สว่างเป็นเสี้ยวทางขอบฟ้าตะวันตก และจะเห็นดวงจันทร์ขึ้นสูงจากขอบฟ้าทิศตะวันตก ไปทางทิศตะวันออก พร้อมกับมีเสี้ยวสว่างมากขึ้น พอถึงช่วงวันขึ้น 7-8 ค่ำ ดวงจันทร์จะสว่างครึ่งซีกอยู่ตรงกลางท้องฟ้าพอดี (Quarter) วันต่อมาจะเพิ่มเสี้ยวสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งวันขึ้น 14-15 ค่ำ ดวงจันทร์จะมาอยู่ตรงเส้น ระหว่างดวงอาทิตย์และโลก ทำให้ดวงจันทร์เกิดสว่างเต็มดวง (Full moon) หลังจากนั้นดวงจันทร์กลายเป็นข้างแรม ดวงจันทร์จะขึ้นช้าไปเรื่อยๆ จนหายไปในท้องฟ้าจะเห็นเดือนดับ แล้วก็เริ่มต้นใหม่ เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ การเกิดข้างขึ้นข้างแรม เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก 1 รอบ เท่ากับมันโคจรรอบตัวเอง 1 รอบพอดี ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้นเราจึงเห็นดวงจันทร์เพียงซีกเดียวตลอดเวลา 



ลักษณะทางกายภาพของโลก
 โลกเกิดจากกลุ่มก๊าซร้อนที่รวมตัวกันและกลายเป็นดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 4,500 ล้านปีมาแล้ว ในช่วงแรกๆ โลกเป็นของแข็งก้อนกลมอัดกันแน่นและร้อนจัด ต่อมาจึงเย็นตัวลง เมื่อโลกเย็นตัวลงใหม่ๆ นั้น ไม่ได้มีสภาพทั่วไปดังเช่นในปัจจุบันและไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เลย โลกใช้เวลาปรับสภาพอยู่ประมาณ 3,000 ล้านปี จึงเริ่มมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เกิดขึ้น และใช้เวลาวิวัฒนาการอีกประมาณ 1,000 ล้านปี จึงได้มีสภาพแวดล้อมทั่วไปคล้ายคลึงกับที่ปรากฏในปัจจุบัน ในสมัยโบราณ มนุษย์เคยเชื่อกันว่า โลกมีสัณฐานแบนคล้ายจานข้าว นักเดินเรือในสมัยนั้นจึงไม่กล้าเดินทางไปในมหาสมุทรไกลๆ เพราะกลัวว่าจะตกขอบโลกออกไป ต่อมามีการเดินเรือรอบโลกโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลแลน (Ferdinand Magellan) นักเดินเรือชาวโปรตุเกสซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าโลกมีสัณฐานกลม และในปัจจุบันมีการส่งดาวเทียมหรือยานอวกาศออกไปนอกโลกในระยะไกลและถ่ายภาพโลกไว้ จากภาพถ่ายเหล่านั้นก็ปรากฏชัดว่าโลกมีสัณฐานกลม   ขนาดของโลกเมื่อวัดระยะทางในแนวเส้นศูนย์สูตรจะได้ความยาวประมาณ 12,756 กิโลเมตร และวัดในแนวขั้วโลกเหนือ-ใต้ยาวประมาณ 12,719 กิโลเมตร ทำให้โลกมีลักษณะกลมแป้นเหมือนผลส้มที่ตรงกลางป่องเล็กน้อยและขั้วโลกทั้งสองมีลักษณะแบน โลกมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาโดยหมุนรอบตัวเองใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมงและหมุนรอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็ว 106,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาประมาณ 364 ¼ วัน เมื่อพิจารณาถึงส่วนประกอบของโลกพบว่าโลกมีมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 4 ส่วนคือ  
  1. ธรณีภาค (Lithosphere) คือ แก่นโลกและเปลือกโลกส่วนที่รวมตัวเป็นของแข็ง ได้แก่ ดิน หิน แร่ธาตุ
  2. อุทกภาค (Hydrosphere) คือ ส่วนที่เป็นของเหลวหรือพื้นน้ำที่ปกคลุมผิวโลก เช่น ทะเล มหาสมุทร รวมถึงน้ำใต้ดิน ไอน้ำในอากาศและน้ำที่เป็นน้ำแข็งขั้วโลกด้วย
  3. บรรยากาศภาค (Atmosphere) คือ เปลือกโลกส่วนที่เป็นก๊าซอยู่เหนือผิวโลก ทำให้เกิดลักษณะภูมิอากาศ (Climate) และ ลมฟ้าอากาศ (Weather) ก๊าซต่างๆ บนโลกเรานี้ประกอบด้วยไนโตรเจนร้อยละ 78 ก๊าซออกซิเจนร้อยละ 21 และก๊าซอื่นๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ อาร์กอน ฮีเลียม อีกร้อยละ 1
  4. ชีวภาค (Biosphere) คือ สิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวโลกทั้งบนบก ในดิน ในน้ำ และในอากาศ เช่น มนุษย์ สัตว์ พืช

เขตภูมิอากาศของโลก
 “ภูมิอากาศ (Climate)” หมายถึง สภาวะอากาศของทวีป ประเทศ เมือง หรือท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นลักษณะอากาศที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลายาวนาน จึงจัดได้ว่าเป็นตัวแทนของลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง ในบางครั้งเราเรียกว่า “ภูมิอากาศประจำถิ่น“(Topoclimate) ข้อมูลภูมิอากาศได้มาจากการตรวจอากาศประจำวันและนำข้อมูลที่ได้มาทำการบันทึกติดต่อกันเป็นเวลานาน และจึงนำมาหาค่าเฉลี่ยอีกครั้งหนึ่ง โดยข้อมูลที่จัดเก็บได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน เมฆ และลม ร่วมกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ อันได้แก่ ทัศนวิสัย แสงแดด พายุหมุน เป็นต้น ส่วนคำว่า “ลมฟ้าอากาศ”(Weather)” หมายถึง สภาวะอากาศที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งในพื้นที่แห่งหนึ่ง เป็นสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงระยะเวลาต่างๆ ในรอบปี
 โดยสรุปคือ ภูมิอากาศเป็นสภาวะอากาศเฉลี่ยประจำพื้นที่ ส่วนลมฟ้าอากาศคือสภาพอากาศในช่วงระยะเวลาต่างๆ ภูมิอากาศ เป็นปัจจัยที่สำคัญทางภูมิศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีผลต่อชีวิตมนุษย์ เนื่องจากเป็นตัวกำหนดว่ากิจกรรมทั้งทางกายภาพและด้านเศรษฐกิจสังคมของมนุษย์ แต่จากลักษณะสภาพทั่วไปของพื้นผิวโลกที่มีความแตกต่างกัน มีผลทำให้ลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันไป ซึ่งปัจจัยที่ควบคุมสภาพภูมิอากาศ มีหลายปัจจัย เช่น ความเข้มของแสงแดด กระแสน้ำในมหาสมุทร กระแสลมจากมหาสมุทร เทือกเขา ระดับสูงของพื้นที่ เป็นต้น
การจำแนกภูมิอากาศ
การแบ่งเขตภูมิอากาศทำได้หลายวิธีโดยอาศัยองค์ประกอบของอากาศทางด้านต่างๆ เช่น อุณหภูมิ หยาดน้ำฟ้า ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ แนวปะทะของมวลอากาศ และลักษณะดิน โดยการแบ่งเขตภูมิอากาศของโลกจะเน้นเฉพาะบนภาคพื้นดินเท่านั้น เนื่องจากบนพื้นน้ำความแตกต่างของอุณหภูมิมีไม่มากนัก สำหรับการจำแนกภูมิอากาศของโลกมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การจำแนกโดยใช้เกณฑ์จากอุณหภูมิ ปริมาณฝน ลักษณะพืชพรรณ เป็นต้น ในปี ค.ศ.1918 วลาดิเมียร์ เคิปเปน (Vladimir Kóppen) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอร์มัน ได้จำแนกภูมิอากาศโลกโดยใช้เกณฑ์อุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนและปริมาณหยาดน้ำฟ้า โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ดังนี้
A ภูมิอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร ทุกเดือนอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 18°C
B ภูมิอากาศแห้งแล้ง ฝนตกน้อย อัตราการระเหยของน้ำมาก
C ภูมิอากาศอบอุ่น ฤดูร้อนอากาศอบอุ่น ฤดูหนาวไม่หนาวมาก อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า 18°C และสูงกว่า -3°C
D ภูมิอากาศหนาวเย็น ฤดูร้อนอากาศเย็น ฤดูหนาวหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดไม่ต่ำกว่า 10°C อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า -3°C
E ภูมิอากาศขั้วโลก อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดต่ำกว่า 10°C
ภูมิอากาศร้อนชื้น (Tropical Climates) : A
เป็นบริเวณที่มีอากาศร้อนชื้น มีฝนตกมากกว่า 1,500 มิลลิเมตรและทุกๆ เดือนมีอุณหภูมิเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 18°C กลางวันและกลางคืนมีอุณหภูมิไม่แตกต่างกันมาก โดยกลางวันมีอุณหภูมิเฉลี่ย 32°C กลางคืนมีอุณหภูมิเฉลี่ย 22°C ความชื้นสูงมีไอน้ำในอากาศจำนวนมาก จึงมักมีการควบแน่นเกิดน้ำค้างและหมอกปกคลุมพื้นดินเวลากลางคืน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 25° เหนือ ถึง 25° ใต้ ได้แก่ ลุ่มน้ำอเมซอนในประเทศบราซิล ลุ่มน้ำคองโกในตอนกลางของทวีปแอฟริกา หมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย พื้นที่บางส่วนปกคลุมด้วยป่าฝนเขตร้อน (Tropical Rain Forest) มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่งป่าฝนเขตร้อนนั้นมีพื้นที่เพียง 7% ของโลก แต่มีสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก
ภูมิอากาศแห้งแล้ง (Dry Climates) : B
เป็นบริเวณที่อากาศแห้ง ปริมาณการระเหยของน้ำมากกว่าปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมา ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นผิวมีความเข้มแสงมากกว่า 90% กลางวันและกลางคืนมีอุณหภูมิต่างกันมาก โดยกลางวันมีอุณหภูมิสูงกว่า 38°C (50° ในช่วงฤดูร้อน) กลางคืนอาจจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง (-15°C ในช่วงฤดูหนาว) ปริมาณน้ำฝนในรอบปีเพียงประมาณ 50มิลลิเมตร บางปีอาจไม่มีฝนตกเลย
พื้นที่ในเขตนี้กินอาณาบริเวณถึง 30% ของพื้นทวีปทั้งหมดของโลก อยู่ระหว่างละติจูดที่      20° - 30° เหนือและใต้ โดยมากจะเป็นทะเลทรายบนที่ราบซึ่งห้อมล้อมด้วยเทือกเขา ได้แก่ ทะเลทรายซาฮาร่าในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ ทะเลทรายโกบีในประเทศจีน ทะเลทรายเหล่านี้มักจะประกอบด้วยดินทราย ซึ่งจะมีพืชบางประเภทเท่านั้นที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เช่น กระบองเพชร
ภูมิอากาศอบอุ่น (Mesothermal Climate) : C
เป็นบริเวณที่ฤดูร้อนและฤดูหนาวมีอุณหภูมิไม่แตกต่างกันมาก อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า 18°C และสูงกว่า -3°C แบ่งย่อยออกเป็น
ภูมิอากาศแถบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climates) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่รอบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนใต้ของทวีปยุโรป เป็นเขตที่มีฝนตกน้อย        พืชพรรณเป็นพุ่มเตี้ย มักเกิดไฟป่าในช่วงฤดูร้อน และมีฝนตกในช่วงฤดูหนาว
ภูมิอากาศแถบอบอุ่น (Temperate Climates) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 25° ถึง 40° เหนือ ได้แก่ ทวีปยุโรปตอนกลาง และซีกตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน เกาหลีเหนือ-ใต้ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ซีกตะวันออกของออสเตรเลียและอาร์เจนตินาและตอนใต้ของบราซิล เป็นบริเวณที่ฤดูกาลทั้งสี่ ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวมีความแตกต่างอย่างเด่นชัด ปริมาณน้ำฝนในรอบปีประมาณ 500 - 1,500 มิลลิเมตร ไม้ที่ขึ้นแถบนี้เป็นไม้เขตอบอุ่นซึ่งจะผลัดใบในฤดูหนาว
ภูมิอากาศหนาวเย็น (Microthermal Climates) : D
อากาศหนาวเย็นในช่วงฤดูร้อน (อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดไม่ต่ำกว่า 10°C) และมีสภาพอากาศรุนแรงในช่วงฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นปกคลุมนานถึง 9 เดือน (อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า -3°C) ซึ่งทำให้น้ำแข็งจับตัวภายในดิน ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ช้า
พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในอยู่ระหว่างละติจูดที่ 40° ถึง 60° เหนือ ของทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปเหนือ(แถบสแกนดิเนเวีย ได้แก่ สวีเดน เดนมาร์ก นอร์เวย์และฟินแลนด์) และเอเชีย (สหพันธรัฐรัสเซีย)     ป่าไม้ในเขตนี้ส่วนมากจะเป็นต้นไม้ไม่ผลัดใบที่ทนอากาศหนาวได้ อาทิ สนฉัตร สนสองใบ สนใบแหลม
ภูมิอากาศขั้วโลก (Polar Climates) : E
มีอากาศแห้ง ลมแรง และหนาวเย็นตลอดทั้งปี ฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูงกว่าจุดน้ำแข็งเพียงแค่ 2-4 เดือน (ต่ำกว่า 10°C) มีฤดูหนาวที่ยาวนาน และมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่เหนือเส้นอาร์คติกเซอร์เคิล (66.5°เหนือ) ขึ้นไป และใต้เส้นแอนตาร์คติกเซอร์เคิล (66.5°ใต้) ลงมา บริเวณใกล้กับขั้วโลก เช่น เกาะกรีนแลนด์และทวีปแอนตาร์กติกมีแผ่นน้ำแข็งถาวรหนาหลายร้อยเมตรปกคลุม พื้นมหาสมุทรเต็มไปด้วยภูเขาน้ำแข็ง พื้นทวีปในส่วนที่ห่างไกลจากขั้วโลก น้ำในดินแข็งตัวอย่างถาวร พืชส่วนใหญ่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้



 การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมของโลก
 การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลกเป็นปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด เพียงแต่ความรุนแรงของปัญหาในแต่ละซีกโลกอาจไม่เท่ากันหรือแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมและสภาพพื้นที่ที่ปรากฏการณ์นั้นๆ เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลกอาจเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด ก่อให้เกิดเถ้าฝุ่นละอองฟุ้งกระจายไปในบรรยากาศจนเกิดมลพิษทางอากาศขึ้น ไฟไหม้ป่า ทำให้เกิดเขม่าควันไฟฟุ้งกระจายในบรรยากาศ และเป็นการทำลายสารอาหารแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและพื้นผิวดิน ซึ่งจะก่อให้เกิดมลพิษทางดินได้ การเกิดอุทกภัยทำให้กระแสน้ำชะล้างและพัดพาสิ่งสกปรกและสิ่งเป็นพิษบนพื้นดินไหลไปรวมกันอยู่ในแหล่งน้ำจนกลายเป็นปัญหามลพิษทางน้ำได้ นอกจากนี้มนุษย์ก็เป็นผู้กระทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมด้วย เนื่องจากมนุษย์จำเป็นต้องดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อการยังชีพและเพื่อการอยู่รอดในสังคม กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นล้วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น
 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม มีลักษณะที่สำคัญแบ่งออกได้ 3 ประการ คือ
การเพิ่มจำนวนประชากร ซึ่งการที่ประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้นย่อมหมายถึงความต้องการปัจจัยในการดำรงชีวิตเพิ่มมากขึ้นด้วย ความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติจึงสูญเสียไปก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือ
  • การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การใช้ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและทำกิน การทำไร่เลื่อนลอย การบุกรุกทำลายป่า การใช้ทรัพยากรน้ำเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปริมาณน้ำลดลงและคุณภาพเสื่อมโทรมลง
  • การอพยพย้ายถิ่น มีการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าสู่เขตเมืองใหญ่เพื่อหางานทำ ทำให้เกิดปัญหาประชากรหนาแน่นในเขตเมืองเกิดปัญหาชุมชนแออัด
  • การขยายตัวของเมือง มีการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว อาคารบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรมมีมากขึ้นทำให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ
การพัฒนาและการใช้เทคโนโลยี มนุษย์พยายามค้นคว้าศึกษาวิจัย เพื่อจะนำเทคนิควิชาการใหม่ๆ มาพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า เพื่อการเพิ่มผลผลิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่มนุษย์มิได้ตระหนักถึงผลกระทบจากการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น จึงเกิดการทำลายธรรมชาติกลายเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมได้
การกระทำของมนุษย์โดยตรง เกิดจากการกระทำของมนุษย์เองโดยขาดความสำนึกหรือขาดความรับผิดชอบต่อสังคมตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ มนุษย์เราจะทิ้งของเสียไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ลงสู่สิ่งแวดล้อมโดยตรง เช่น การทิ้งน้ำเสีย จากอาคารบ้านเรือน การทิ้งขยะไม่เป็นที่ เป็นต้น
 ปัจจุบันมีปัญหาที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมของโลกที่สำคัญหลายปัญหา ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ อาทิ คลื่นยักษ์สึนามิ ปรากฏการณ์เอลนิญโญ การขยายตัวของทะเลทราย หรือปัญหาที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ อาทิ ชั้นโอโซนรั่ว สภาวะโลกร้อนจากปรากฏการณ์เรือนกระจก สารพิษอุตสาหกรรม เป็นต้น


ส่วนประกอบของโลก

โลกเรามีรูปร่างเป็นทรงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ยาวประมาณ 12,711 กิโลเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวเส้นศูนย์สูตรซึ่งมีค่าประมาณ 12,755 กิโลเมตร ขณะที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์นั้น แกนของโลกจะเอียงทำมุมประมาณ 23 องศา ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ นอกเขตร้อน1.เปลือกโลก (earth crust) เป็นชั้นที่อยู่นอกสุดของโลกมีความหนาน้อยที่สุดประมาณ 6-35 กิโลเมตร ประกอบด้วยแผ่นดินและแผ่นน้ำ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือเปลือกโลกส่วนบนและเปลือกโลกส่วนล่าง
> เปลือกโลกส่วนบน เป็นส่วนนอกสุดประกอบด้วยชั้นดินและหินไซอัล (sial) ที่เป็นหินแกรนิต ส่วนใหญ่ประกอบด้วยซิลิกา (silica) และอลูมินา (alumina)
เปลื่อกโลกส่วนล่าง เป็นส่วนที่เป็นมหาสมุทร ประกอบด้วยหินไซมา (sima) ที่เป็นหินบะซอลต์ ประกอบด้วยซิลิกา (silica) และแมกนีเซียม (magnesium)
2.แมนเทิล (mantle) เป็นชั้นของโลกที่อยู่ลึกจากชั้นเปลือกโลก ประกอบด้วยหินและแร่หลายชนิด เช่น หินอัลตราเบสิก หินเพริโดไทต์ ซึ่งเป็นหินอัคนี และหินหลอมเหลวซึ่งเรียกว่า "หินหนืด" มีอุณหภูมิประมาณ 2,000 องศาเซลเซียส มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร
3.แก่นโลก (core) อยู่ชั้นในสุดหรือเป็นแก่นกลางของโลก แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นแก่นโลกนอก เป็นชั้นของเหลวที่ร้อนจัด และแก่นโลกในเป็นชั้นของแข็ง ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิเกิล แก่นโลกมีความหนามากประมาณ 3,440 กิโลเมตร มีอุณหภูมิสูงประมาณ 5,000 องศาเซลเซียส

บรรณานุกรม สุมณฑา

https://docs.google.com/document/d/1lPlSDG6GNHxlSfCfWG3mJM1FwpZavdFayBZeidI6EL4/edit?pli=1

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555